ท้องผูกต้องรู้จัก "โพรไบโอติก" - รู้แล้วเปลี่ยนชีวิตคุณได้ทันที

 



ท้องผูกต้องรู้จัก "โพรไบโอติก" - รู้แล้วเปลี่ยนชีวิตคุณได้ทันที

โพรไบโอติกคืออะไร?

Nice ชวนทุกคนดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยวิธีง่ายๆ เริ่มจากสำรวจอาหารการกินของตัวเองกันสักนิด ใครที่มีอาการท้องผูกบ่อยๆ อาหารไม่ค่อยย่อย บทความนี้อาจช่วยได้ ...


โพรไบโอติก บ้างก็เรียก โปรไบโอติก มาจากภาษาอังกฤษคำนี้ Probiotic ซึ่งหมายถึง จุลินทรีย์ขนาดเล็ก จัดอยู่ในกลุ่มจุลินทรีย์มีชีวิต มักพบในอาหารต่อไปนี้ นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ หลังจากที่เราทานอาหารที่มี "โปรไบโอติก" จะมีประโยชน์ในด้านการปรับสมดุลให้ลำไส้ มันสามารถจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้จากนั้นจึงผลิตสารต่อต้านและค่อยๆกำจัดจุลินทรีย์ตัวอื่นๆที่เป็นโทษแก่ร่างกาย 

อาหารที่มีโพรไบโอติก


โพรไบโอติกทำงานในลำไส้อย่างไร 

จุลินทรีย์จิ๋วตัวนี้เปรียบดังทหารที่คอยดูแลลำไส้ของเราให้สมดุล ซึ่งแน่นอนว่าเกี่ยวข้องกับระบบการย่อยอาหารโดยตรง (ลำไส้ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารและย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหารให้ร่างกาย)​ "เมื่อลำไส้แข็งแรง" จะช่วยลดอาการท้องผูก ทำให้เราขับถ่ายปติ ขับถ่ายง่าย และจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลพบว่า ผลพลอยได้ที่ตามมา คือ  ลดไขมัน ควบคุมน้ำหนัก ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและช่วยต้านทานเชื้อโรค เราก็จะไม่ค่อยเจ็บป่วยนั่นเอง เพื่อนๆอย่าลืมนะ กระบวนการเผาพลาญอาหารเริ่มต้นตั้งแต่ปากจนถึงลำไส้(1)

ปัจจัยที่ทำให้โพรโบโอติกในร่างกายลดลง

  • ความเครียด
  • พักผ่อนน้อย
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ สารอาหารน้อย

เราอาจจะไม่รู้ตัวว่ากำลังทำลายระบบย่อยอาหารของตัวเองผ่านพฤติกรรมที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้นเมื่อรู้แบบนี้แล้ว Nice ขอแนะนำว่าอาจจะลองปรับพฤติกรรมให้ที่ไม่ดีให้น้อยลง หันมาเสริมสร้างสุขภาพของตัวเองด้วยวิธีต่อไปนี้ 

เสริมสร้างสุขภาพดี 
  • ใส่ใจและเลือกอาหารที่ดี และมีประโยชน์ให้ตัวเอง
  • ทำอาหารกินเองสักมื้อในหนึ่งวัน 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  • เลือกทานอาหารเสริมที่มีคุณภาพ


ประโยชน์ของโพรไบโอติก บทบาทของโพรไบโอติกในร่างกาย (2)
  • ปรับความสมดุลให้ลำไส้
  • มีผลโดยตรงต่อระบบทางเดินทางอาหาร (มีโพรไบโอติกดีต่อลำไส้)
  • รักษาและป้องกันโรคอุจจาระร่วงที่เกิดจากเชื้อไวรัสโรต้า
  • ช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์หลังจากได้รับยาปฏิชีวนะ
โพรไบโอติกรักษาสมดุลลำไส้


พรไบโอติกแบบไหนดี เสริมภูมิคุ้มกัน ลดอาการท้องผูก

 ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยเสริมสร้างโพรไบโอติกให้ลำไส้เป็นจำนวนมาก แต่เรามีวิธีเลือกให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน ใครชอบแบบไหนลองกันดูได้เลย แต่ไม่ว่าเพื่อนๆจะเลือกยี่ห้อไหน ขอให้ตรวจสอบความน่าเชื่อของแบรนด์ ความปลอดภัยโดยตรวจสอบเลขที่จดแจ้ง (เลขที่อย.) ก่อนทุกครั้ง

  1. ชนิดผง "ชงดื่ม"  โดยทั่วไป โพรไบโอติกประเภทนี้สามารถนำมาละลายกับน้ำดื่ม เมื่อละลายดีแล้วจึงดื่มได้ทันที  มีข้อดีคือ ละลายน้ำได้เร็ว เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาด้านการกลืนยา และพบว่ามีปริมาณจุลินทรีย์เยอะ

  2. แบบแคปซูล "กลืนง่าย"  โพรไบโอติกประเภทนี้สะดวก พกพาง่าย เพียงมีน้ำดื่มข้างกายก็สามารถพร้อมกินได้ทันที เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบรสสัมผัสแบบผง 

  3. แบบเม็ดเคี้ยว โพรไบโอติกชนิดนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบรสสัมผัสของผลิตภัณฑ์ 

วิธีเลือกซื้อโพรไบโอติกให้ปลอดภัยและเหมาะสม

 โดยทั่วไปเราควรเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ร้านขายยาที่มีเภสัชกรแนะนำการใช้ยา หรือ ซื้อจากเว็บไซต์ที่เป็นร้าน Official  นอกจากนี้เพื่อนๆ ควรใส่ใจอ่านส่วนประกอบหรือประเภทของจุลินทรีย์ที่ฉลากผลิตภัณฑ์ เพราะจุลินทรีย์ยอดนิยมที่พบในผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก มีดังนี้ 


  1. แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus )  เป็นองค์ประกอบของนม นมเปรี้ยว โยเกิร์ตและของหมักดองบางชนิด มีส่วนช่วยเรื่องการขับถ่าย กระตุ้นการขับถ่ายให้ดียิ่งขึ้น 
  2. Bifidobacterium สามารถพบเจอในผลิตภัณฑ์นม อาหารหมักดอง ธัญพืชเต็มเมล็ด โกโก้ และในนมแม่ ทำหน้าที่ช่วยย่อยน้ำตาลในนมแม่ให้เด็กทารก และช่วยเรื่องระบบขับถ่าย ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้นไปในตัว
  3. Saccharomyces boulardii ยีสต์ที่ทำหน้าที่เหมือนโพรไบโอติก ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมแบคทีเรียในระบบขับถ่าย

โยเกิร์ตกระตุ้นการขับถ่าย


Nice ขอฝากส่งท้าย 

สุขภาพของเราอยู่ที่พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเป็นเพียงปัจจัยเสริมให้ร่างกายเราส่วนหนึ่งเท่านั้น อย่าลืมใส่ใจสุขภาพด้วยการเลือกรับประทานอาหารจากธรรมชาติเป็นหลัก ใส่ใจเรื่องสุขอนามัยของตนเองและคนที่เรารัก หากพบว่าท้องผูกเรื้อรัง ควรรีบปรึกษาแพทย์


(1) อ้างอิงข้อมูลของข่าวประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ คลิกอ่านต้นฉบับ
(2) โพรไบโอติกกับการส่งเสริมสุขภาพ, วารสารพยาบาลทหารบก (2557) 

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า