Nice by แม่บ้าน4G
อยากแต่งงานแล้ว อ่านเลยขั้นตอนเตรียมงานและเตรียมตัว
เชื่อว่าคู่รักทุกคู่ต้องการความพร้อมระดับหนึ่งก่อนจะตัดสินใจลั่นระฆังวิวาห์ หลังจากที่คบหากันมาถึงระดับที่อยากใช้ชีวิตร่วมกัน บ้านและงานวิวาห์เป็นสิ่งแรกๆที่หลายคู่คิดถึง แต่ก่อนจะเริ่มต้นชีวิตคู่บทแรก เรามาลองดูบทนำกันหน่อยดีหรือไม่
งานแต่งงานมีคุณค่าและมีความสำคัญในตัวเอง แต่ไม่สามารถบอกหรือตัดสินใจได้ว่าอะไรสำคัญกว่า เพราะความสำคัญเกิดขึ้นจากการประเมินและวัดค่าโดยส่วนตัวของแต่ละคนนั้นเอง บางคนจะพร้อมซื้อบ้านและค่อยจัดแจงงานแต่งงาน ลำดับก่อนและหลังค่อนข้างต่างกัน ดังนั้นวันนี้เลยขอเป็นหน่วยกล้าแชร์ นำข้อมูลของตนเองมาแบ่งปันเพื่อเป็นแนวทางให้คู่รักหลายๆคู่ได้ลองดูเป็นกรณีตัวอย่าง
สำหรับแม่บ้าน4G เส้นทางวางแผนงานแต่งงานเริ่มต้นในอายุ 27 (เราแต่งงานในวัย 31 ปี) เท่ากับเรามีเวลาวางแผนทุกอย่างล่วงหน้าประมาณ 3 ปี หลังจากที่เรียนจบและมีงานทำเป็นที่เรียบร้อย สิ่งที่เริ่มต้นคุยกันกับคนรักคือ เราจะแต่งงานเมื่อไร คำถามนี้ไม่แน่ใจผู้ชายทั่วไปมองว่าอย่างไร แต่ผู้ชายของแม่บ้าน4G เป็นเหมือนเกมที่ต้องคิดและวางแผน ดังนั้นเราจึงเริ่มต้นแบบนี้
1. กำหนดวันแต่งงานคร่าวๆ เพื่อเริ่มต้นวางแผน
เช่น เมื่อกำหนดแต่งงานเดือนมกราคมในอีกสามปีข้างหน้า เราจึงเริ่มต้นเปิดบัญชีออมทรัพย์แบบฝากประจำเพื่อสร้างวินัย และคิดว่าเงินก้อนนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดจ้างออแกไนซ์ในงานแต่งงาน ข้อดีของบัญชีแบบฝากประจำคือทำให้เราไม่ลืมการเก็บเงิน เป็นการสร้างวินัยทางการเงินร่วมกันเป็นเงินก้อนที่จะต้องฝากเท่ากันทุกๆเดือน และแน่นอนคู่ของเราทำสำเร็จ เงินก้อนในเวลา3ปี ที่เราร่วมแรงกันเก็บ มันมีผลตอบแทนด้านดอกเบี้ย ในที่นี้เราเลือกฝากประจำแบบ 24 เดือน ตอนนั้นดอกเบี้ยเงินฝากต่อปีประมาณ 1.25%
สำหรับแม่บ้าน4G เส้นทางวางแผนงานแต่งงานเริ่มต้นในอายุ 27 (เราแต่งงานในวัย 31 ปี) เท่ากับเรามีเวลาวางแผนทุกอย่างล่วงหน้าประมาณ 3 ปี หลังจากที่เรียนจบและมีงานทำเป็นที่เรียบร้อย สิ่งที่เริ่มต้นคุยกันกับคนรักคือ เราจะแต่งงานเมื่อไร คำถามนี้ไม่แน่ใจผู้ชายทั่วไปมองว่าอย่างไร แต่ผู้ชายของแม่บ้าน4G เป็นเหมือนเกมที่ต้องคิดและวางแผน ดังนั้นเราจึงเริ่มต้นแบบนี้
1. กำหนดวันแต่งงานคร่าวๆ เพื่อเริ่มต้นวางแผน
เช่น เมื่อกำหนดแต่งงานเดือนมกราคมในอีกสามปีข้างหน้า เราจึงเริ่มต้นเปิดบัญชีออมทรัพย์แบบฝากประจำเพื่อสร้างวินัย และคิดว่าเงินก้อนนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดจ้างออแกไนซ์ในงานแต่งงาน ข้อดีของบัญชีแบบฝากประจำคือทำให้เราไม่ลืมการเก็บเงิน เป็นการสร้างวินัยทางการเงินร่วมกันเป็นเงินก้อนที่จะต้องฝากเท่ากันทุกๆเดือน และแน่นอนคู่ของเราทำสำเร็จ เงินก้อนในเวลา3ปี ที่เราร่วมแรงกันเก็บ มันมีผลตอบแทนด้านดอกเบี้ย ในที่นี้เราเลือกฝากประจำแบบ 24 เดือน ตอนนั้นดอกเบี้ยเงินฝากต่อปีประมาณ 1.25%
2. คิดถึงเป้าหมายไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
ถ้าเรามีเป้าหมายว่าจะมีงานแต่งงานของตัวเอง เราจะต้องควบคุมการใช้จ่ายและระมัดระวังทุกๆการใช้จ่าย คู่ของเราฝ่ายชายทำงานในบริษัทมั่นคงมีเงินรางวัล(เงินโบนัสประจำปี) ดังนั้นในเวลาสามปีที่เราตั้งใจออมเงินนั้น เงินโบนัสจึงเข้าสู่บัญชีสินสอด เรียกได้ว่าเป็นการออมเงินแบบเห็นภาพที่ชัดเจนที่สุดแล้ว จุดนี้เองที่ทำให้เรายิ่งมั่นใจคู่ชีวิตขึ้นอีกเท่าตัว เพราะความสามารถวางแผนการเงินเพื่อใช้ในอนาคตได้เป็นวินัยที่น่ายกย่องที่สุด
ตัดภาพไปที่เมื่อเงินจัดจ้างออแกไนซ์และสินสอดลงตัว เราขอนำเสนอ wedding planner ที่ใกล้ถึงวันจัดงานเข้ามาทุกขณะ สิ่งที่กำลังจะเล่าต่อไปนี้ เพื่อนๆอาจจะนำไปเป็นแนวทางได้ อย่าลืมว่าแต่ละครอบครัวมีเงื่อนไขที่ต่างกัน ขอให้วางแผนแบบยืดหยุ่นอย่ามีเพียงแผนเดียวเด็ดขาด
3. Check-List Wedding จดบันทึกทุกอย่างถ้าทำได้จะดีมาก
นับถอยหลัง 12 เดือนก่อนวันงาน
- วางแผนรูปแบบงาน งานหมั้น งานไทย โต๊ะจีน บุฟเฟ่ต์ ค็อกเทล ต้องให้ตรงใจฝ่ายพ่อแม่ด้วย
- คำนวนจำนวนแขกผู้มีเกียรติ
- มองหาของชำร่วย ออกแบบการ์ดแต่งงาน เริ่มผลิตตัวอย่างก่อนส่งพิมพ์(ถ้าเป็นร้านเดียวทำแบบครบวงจรให้เลือกเลย เพราะประหยัดเวลามาก)
- ติดต่อร้านดอกไม้ ร้านเค้ก (ถ้าจัดงานเองจะเหนื่อย แต่ได้เลือกทุกอย่างตามใจ) ถ้าไม่ไหวออแกไนซ์คือทางออก ย้ำๆๆๆ ดูให้ดีทำสัญญาได้ควรทำ
- เดือนที่ 5 /6 เริ่มหาชุดเจ้าบ่าวเจ้าสาว วัดตัว ลองชุด ควบคุมน้ำหนักให้คงที่ให้มากที่สุด
- จองที่พักล่วงหน้าให้แขกที่ต้องเดินทางมาร่วมงาน (เช่นฝ่ายพ่อแม่สามี/พ่อแม่ภรรยา)
- หาช่างภาพถ่ายรูปพรีเวดดิ้ง จะนำไปสู่การเตรียมรูปที่ต้องใช้หน้างานด้วย
- ดูรูปพรีเวดดิ้ง เปรียบเทียบสไตล์แต่งหน้า หาช่างที่แต่งแล้วถูกใจมากที่สุดและจองคิว
- ใช้ชีวิตอย่างระวัง ทั้งความปลอดภัย ความงาม สุขภาพ
- ทำไลน์กลุ่มทีมจัดงาน เชิญคนเกี่ยววข้องเข้าไลน์กลุ่ม ประโยชน์คือคนในวงการจะมีเครือข่าย หากเราขาดเหลืออะไร ให้สอบถามเลย
ข้อมูลด้านบนนี้จะเป็นหน้าที่ของคู่ว่าที่บ่าวสาวจะต้องเตรียมงาน ควบคุมคุณภาพด้วยตนเอง แต่สำหรับรายละเอียดอื่นๆเช่นอาหาร เครื่องดื่ม อาจจะต้องคุยร่วมกันกับฝ่ายพ่อแม่ด้วยอีกครั้ง บางทีท่านอาจจะต้องการมีส่วนร่วมในงานและสามารถช่วยเราทั้งสองได้ เพราะอย่าลืมงานแต่งงานที่เราจัด ส่วนหนึ่งก็เพื่อเป็นเกียรติให้กับคนที่เรารักทั้งสองฝ่ายนั่นเอง
ขอบคุณที่ติดตามอ่านบทความของเรา
Tags:
Life